Thursday, June 28, 2012

หลวงพ่อสำลี รูปเหมือนลอยองค์ เนื้อนวะ รุ่นแรก วัดโพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม

หลวงพ่อสำลี ธีรปญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพรงมะเดื่อ (องค์ที่ ๙)
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

เหรียญรุ่นแรก เนื้อทองฝาบาตร หลวงพ่อฉ่อย วัดโพรงมะเดื่อ นครปฐม

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อฉอย ญาณจฺฉนฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดโพรงมะเดื่อ (องค์ที่ ๘)
และเจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม จังหวันครปฐม

Sunday, June 24, 2012

คติเตือนใจ

ถ้าคุณ ” ซื้อ ” > แต่ สิ่งของที่ ” ไม่จำเป็น ”
ในไม่ช้า , คุณก็ต้อง ” ขาย ” > สิ่งของ ..ที่คุณ ” จำเป็น “

Saturday, June 23, 2012

วิชาธรรมวิภาค

ทุกะ คือ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะ ๒ อย่าง คือ
. สติ ความระลึกได้
. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
การระลึกได้ก่อนที่เราจะทำ จะพูด จะคิด นึกไว้ก่อนแล้วจึงทำ พูด คิด นี้เป็นลักษณะของสติ ฯ
ความรู้ตัวในเวลาที่ตนกำลังทำ พูด คิด ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี ไม่ผิดพลาด คอยอุปการะควบคุมสติอยู่เสมอ นี้เป็นลักษณะของสัมปชัญญะ ฯ

สรุป วิชาพุทธประวัติ

            พุทธประวัติ  คือประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้า  เราในฐานะชาวพุทธควรที่จะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศาสดาที่ตนนับถือ  เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะ และบุญกุศลแก่ตนเองยิ่งขึ้นไป
คุณธรรมแบบอย่างที่ดีในพุทธประวัติที่สามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันของเราได้ คือ

พระกึมฮวย ปญฺญาสาโร

เกิด                      วันพฤหัสบดี ที่ ๐๖ มกราคม ๒๕๒๓
ภูมิลำเนา :
การศึกษา :            น.ธ. เอก
พุทธศาสตรบัณฑิต ( พธ.บ.) คณะมนุษย์ศาสตร์(จิตวิทยา)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รุ่นที่ ๕๔ (ศูนย์กลาง)
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ( พธ.บ.) คณะสังคมศาสตร์(การจัดการเชิงพุทธ)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการวัดไร้ขิง จ. นครปฐม
อุปสมบท :           วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๔
สังกัด :                  วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่                 ผู้ช่วยเลขานุการตำบลโพรงมะเดื่อ
ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ วัคโพรงมะเดื่อฝ่ายธุรการ
ที่อยู่ปัจจุบัน :       วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

E-mail: kimhuoy_1980@hotmail.com

Thursday, June 21, 2012

พระมหาประสิทธิ์ชัย ปณฺฑิโต

เกิด :                      ปีรกา วันที่ ๒๐ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒
ภูมิลำเนา :            ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
การศึกษา :            น.ธ. เอก, ปธ. ๖
               พุทธศาสตรบัณฑิต ( พธ.บ.) คณะสังคมศาสตร์
                               (การจัดการเชิงพุทธ)
               มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อุปสมบท :           วันที่ ๐๑ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
สังกัต :                  วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่                 เจ้าอาวาส / เจ้าคณะตำบลโพรงมะเดื่อ
ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ วัคโพรงมะเดื่อ
พระอุปัชฌาย์ ประจำตำบลโพรงมะเดื่อ
ที่อยู่ปัจจุบัน :       วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

พระอาจารย์บุญทิ้ง สุภาจาโร

เกิด                         : ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
ภูมิลำเนา              : ๔๖ หมู่ ๕ ต. หวายเหนียว อ.ท่ามะกา จ. กาญจนบุรี
การศึกษา               : น.ธ. เอก
อุปสมบท              : ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๒
สังกัต                     : วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่                    : ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
อาจารย์สอนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ วัคโพรงมะเดื่อ
พระวินยาธิการ (ตำรวจพระ) ประจำจังหวัดนครปฐม
               เป็นพระกรรมวาจาอนุสาวนาจารย์  ในวัดโพรงมะเดื่อ
ที่อยู่ปัจจุบัน          : วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐


พระมหาเฉลิมพล เมตฺตจิตฺโต

เกิด                       :
ภูมิลำเนา              :
การศึกษา               : น.ธ. เอก, ป.ธ ๕
อุปสมบท              :
สังกัต                     : วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่                    : ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ณ วัคโพรงมะเดื่อ (ฝ่ายวิชาการ)
เลขานุการวัดโพรงมะเดื่อ
ที่อยู่ปัจจุบัน          : วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

พระวิจิตร ทินฺนวํโส

เกิด :
ภูมิลำเนา :
การศึกษา :                น.ธ.เอก
พุทธศาสตรบัณฑิต ( พธ.บ.)คณะสังคมศาสตร์ (การจัดการเชิงพุทธ)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อุปสมบท :
สังกัด :                      วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่ :                     ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
เลขานุการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ณ วัคโพรงมะเดื่อ
เลขานุการเจ้าคณะตำบลโพรงมะเดื่อ
พระวินยาธิการ(ตำรวจพระ) ประจำจังหวัดนครปฐม
ที่อยู่ปัจจุบัน :           วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐


Tuesday, June 12, 2012

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นเอก

๑. ประเทศอินเดีย อยู่ทางทิศใดของประเทศไทย ­
ก. ทิศปัจฉิม
ข. ทิศพายัพ
ค. ทิศบูรพา
ง. ทิศทักษิณ
คำตอบ : ข

Saturday, June 9, 2012

ชีวประวัติเจ้าอาวาส

รายชื่อเจ้าอาวาสที่ปกครองมา

องค์ที่ ๑           พระอาจารย์พุด
องค์ที่ ๒          พระอาจารย์เลียบ
องค์ที่ ๓           พระอาจารย์เคน
องค์ที่ ๔           พระอาจารย์ผู
องค์ที่ ๕          พระอาจารย์มี
องค์ที่ ๖           พระอาจารย์คำ

ประวัติโดยย่อของวัดโพรงมะเดื่อ

ประวัติโดยย่อของวัดโพรงมะเดื่อ

History of Prongmaduea Temple
     วัดโพรงมะเดื่อ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๗ หมู่ที่ ๐๕  ตำบลโพรงมะเดื่อ  อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๑๔  โทรศัพท์ วัดโพรงมะเดื่อ ๐๓-๔๓๘-๗๐๘๔
    คนรุ่นเก่าเล่าว่า แต่เดิมวัดโพรงมะเดื่อนี้ตั้งอยู่ตรงหมู่บ้านพลับ หรือบ้านหนองหิน ที่ตรงนั้นปัจจุบันยังมีหลักฐานอยู่เรียกว่า ทุ่งวัด และยังมีต้นโพธิ์อยู่ ตั้งนานเท่าไรไม่ปรากฏ ต่อมาย้ายมาสร้างตรงท้ายบ้านหนองฉิม ที่ตรงนั้นมีเนินสูงมากเดี๋ยวนี้ยังมีกรวด กระเบื้อง เศษอิฐมากมายเป็นหลักฐานอยู่และตั้งอยู่นานเท่าไรไม่ปรากฏ
    หลังจากนั้น ก็ย้ายมาตั้งที่ตลาดโรงสี มาตลอดจนทุกวันนี้ เพราะที่หนองฉิมเป็นป่าห่างจากหมู่บ้านคนมาก จึงย้ายมาที่ตรงปัจจุบันนี้ ซึ่งเดิมเป็นป่า และเนินสูง ชาวบ้านหรือผู้ใดไม่ปรากฏนามได้ถวายที่สำหรับสร้าง มีเนื้อที่ไม่กี่ไร่ ต่อมาได้ซื้อเพิ่มเติมอีก แล้วให้นามว่า วัดโพรงมะเดื่อ ตามชื่อของหมู้บ้านนี้ เดิมบ้านโพรงมะเดื่อมีชื่อว่า บ้านหัวเข้ เพราะคลองตรงข้ามสะพานเกวียน มีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ ต้นหนึ่ง มีโพรงใหญ่จนมีจระเข้เข้าไปอาศัยอยู่ได้ ต่อมาจระเข้หายไป เหลือแต่โพรง จึงได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านหัวเข้ มาเป็น บ้านโพรงมะเดื่อ มาจนถึงทุกวันนี้ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง พอแต่จะประมาณได้ดังนี้
Ø วัดนี้สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๑
Ø อุโปสถหลังเก่าสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๑ ก่อนสร้างทางรถไฟ
Ø อุโปสถหลังใหม่สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๑



ภาพกิจกรรม

Bookmarks