Wednesday, July 4, 2012

วั น ธ ร ร ม ส ว น ะ

 วั น ธ ร ร ม ส ว น ะ

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่

วันขึ้น 8 ค่ำ
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ

๘. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน เป็นการแสดงตนให้ปรากฏว่ายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตนนั่นเอง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงชี้แจงเหตุผลและที่มาของพิธีนี้ไว้โดยละเอียดในพระนิพนธ์คำนำหนังสือพุทธมามกะว่า“การแสดงให้ปรากฏว่า เป็นผู้นับถือพระพุทธเจ้า ได้ทำกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เป็นกิจจำต้องทำในสมัยนั้นอันเป็นคราวที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นใหม่ เพื่อแสดงให้รู้ว่าตนละลัทธิเดิมรับเอาพระพุทธศาสนาไว้เป็นที่นับถือ วิธีแสดงตนมีต่างกันโดยสมควรแก่บริษัท ดังนี้

๗. การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

พิธีกรรมทางศาสนา หรือที่เรียกว่า ศาสนพิธี คือ แบบอย่างหรือแบบแผนที่ควรปฏิบัติในทางศาสนา ในทางพระพุทธศาสนา ผู้ประกอบพิธี คือ พระสงฆ์ และผู้ปฏิบัติ คือ พุทธศาสนิกชนหรือชาวพุทธ การประกอบและการปฏิบัติพิธีทางพระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์ คือ การทำบุญอันเป็นการบำเพ็ญความดี นำมาซึ่งความสุขและความเจริญ ศาสนพิธีถือเป็นสื่อสำคัญสำหรับการเผยแผ่ธรรม มีการสืบสานต่อกันมาตั้งแต่เกิดจนตาย ศาสนพิธีหรือพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามีมากมาย ได้มีการจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ (รายละเอียดของแต่ละหมวดหมู่จะได้ศึกษาในหัวข้อศาสนพิธี) การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาแต่ละหมวดหมู่นั้นจะมีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพิธีนั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวโดยภาพรวม การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพุทธศาสนาของชาวพุทธมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้

๖. การเข้าค่ายพุทธธรรม

การเข้าค่ายพุทธธรรม คือ การสมัครเข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมระยะสั้นตามที่โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่ตนสังกัดจัดขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยมากมักเป็น ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน และ ๑๕ วัน เป็นต้น
การเข้าค่ายพุทธธรรม หรือเรียกว่า ค่ายพุทธบุตร เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนหรือเยาวชนได้มีโอกาสศึกษา และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่วัย จะได้พัฒนาตนเองและสร้างสรรค์สังคม โดยรู้ซึ้งถึงหลักธรรม มีความรักความศรัทธา มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา รวมถึงเพื่อยกระดับจิตใจให้มั่นคงมีคุณธรรม การเข้าค่ายพุทธธรรม เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ควรส่งเสริม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

๕. การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีตามหลักทิศเบื้องบนของทิศ ๖

 

ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานภาพและบทบาทที่ตนดำรงอยู่ เป็นบิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรให้เจริญเติบโต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ เป็นครูอาจารย์มีหน้าที่สอนและอบรมศีลธรรมจรรยาให้ศิษย์มีความรู้และประพฤติตนเป็นคนดี เป็นนักเรียนมีหน้าที่เรียนหนังสือ เชื่อฟังพ่อแม่และครูอาจารย์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบอะไรในสังคมก็พยายามปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ ให้ดีที่สุด ในพระพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในลักษณะเช่นนี้ไว้เหมือนกัน โดยพระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ในหลัก ทิศ ๖

๔. การเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกขององค์กรชาวพุทธ

 

องค์กรชาวพุทธ คือ หน่วยงาน กลุ่ม หรือชมรมชาวพุทธที่รวมตัวกันเพื่อทำงานด้านพระพุทธศาสนา โดยมีแนวคิดและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นเอกภาพ และปฏิบัติหน้าที่ในเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อสร้างสรรค์สันติสุขแก่สังคม
ประเภทขององค์กรชาวพุทธ ปัจจุบันองค์กรชาวพุทธมีหลายองค์กร มีทั้งองค์กรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและองค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียน แต่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมเฉพาะกิจหรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอื่นที่มุ่งเน้นความคล่องตัวในการดำเนินงาน ตัวอย่างองค์กรชาวพุทธเช่น สภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพุทธศาสนาและสังคมไทย (คพส.) กลุ่มวิชาการชาวพุทธ ชมรมรักพระพุทธศาสนา เป็นต้น องค์กรชาวพุทธที่ใหญ่ที่สุด คือ องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.)

๓. การรักษาศีล ๘

การรักษาศีล ๘ หรือการรักษาอุโบสถศีลเป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหยาบหรือการประพฤติไม่ดีทางกาย วาจา ใจ ชนิดที่เห็นได้ง่าย ได้ชัด เกิดแก่คนทั่ว ๆไป ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะชั้นชนใด ตามปกติการขจัดขัดเกลากิเลสดังกล่าวสำหรับปุถุชนคนธรรมดาถือว่ารักษาศีล ๕ ก็นับว่าเพียงพอ แต่สำหรับผู้ที่จะละกิเลสให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็อาจรักษาศีล ๘ ซึ่งเป็นศีลที่ทำให้ละความสะดวกสบาย ความสวยความงามและความน่าพึงพอใจทางกายต่าง ๆ อันเป็นการละกามกิเลสเพิ่มขึ้น บางคนที่เคร่งครัดก็รักษาเป็นปกติ บางคนที่ยังไม่สะดวกก็ควรตั้งใจรักษาศีล ๘ คราวละ ๓ วัน วันรับวันหนึ่ง วันรักษาวันหนึ่ง และวันส่งอีกวันหนึ่ง เช่น จะรักษาในวันพระ ๘ ค่ำ ก็ต้องเริ่มตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปจนสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือ รุ่งอรุณของวัน ๑๐ ค่ำ โดยทั่วไปมักรักษาศีล ๘ ในวันพระหรือวันอุโบสถเพียงวันเดียว คือวันหนึ่งกับคืนหนึ่งการรักษาศีล ๘ แม้ไม่ใช่นิจศีล คือ ศีลที่รักษาเป็นประจำซึ่งได้แก่ศีล ๕ แต่ก็ควรถือเป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่จะหาโอกาสรักษาศีล ๘ บ้าง อย่างน้อยเพื่อให้มีประสบการณ์ในการรักษาศีลที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติอันเป็นการทำให้เราเป็นคนมีศีลเพิ่มขึ้น ขจัดกิเลสที่ละเอียดมากขึ้นกว่าศีล ๕

๒. คุณสมบัติของทายกและปฏิคาหก

ทายก หมายถึง ผู้ให้ทาน ปฏิคาหก หมายถึง ผู้รับทาน
ในพระพุทธศาสนา ทานหรือการให้เป็นวิธีการทำบุญวิธีหนึ่ง
การให้นั้นนอกจากเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการช่วยขัดเกลาจิตใจผู้ให้ให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ด้วย
การให้แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑. ให้วัตถุสิ่งของ เช่น เงิน อาหาร เสื้อผ้า รวมถึงการออกแรงกายช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
๒. ให้ความรู้ เช่น ช่วยทบทวนวิชาที่เพื่อนขาดเรียนเพราะเหตุจำเป็น ช่วยเตือนสติ
ช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น
๓. ให้อภัย คือ ระงับความโกรธ ไม่ถือโทษเมื่อผู้ทำผิดโดยมีตั้งใจไม่อาฆาต และความตั้งใจงดเว้นไม่ประพฤติผิดศีล รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์

๑. การเข้าใจกิจของพระภิกษุสงฆ์


กิจธุระที่สำคัญของพระสงฆ์ มี ๒ ประการ ดังนี้
๑.๑ การศึกษาอบรม
เมื่อบวชเรียน พระภิกษุจะต้องได้รับการศึกษาอบรม ๓ ด้าน เรียกว่า
“ไตรสิกขา” (ศีล สมาธิ ปัญญา) โดยมีพระอุปัชฌาย์เป็นผู้คอยให้คำแนะนำ ได้แก่
๑. ด้านศีล การศึกษาอบรมด้านศีล คือ การควบคุมกายและวาจาให้เป็นระเบียบ
เรียบร้อยหรือปกติ ศีลของพระภิกษุสงฆ์ มี ๒ ประเภท คือ

หน้าที่ชาวพุทธ

ชาวพุทธเป็นคำที่บัญญัติขึ้นมาใหม่ คำเท่าที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า คือ พุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา คำว่า พุทธบริษัท หมายถึง กลุ่มหรือชมรมบุคคลที่รวมกลุ่มกันในแนวคิดเห็นและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นเอกภาพ ปฏิบัติหน้าที่ในเป้าหมายอันเดียวกัน คือเพื่อสร้างสรรค์สันติสุขแก่สังคม ต่อมาได้มีการเรียกพุทธบริษัทในคำบัญญัติใหม่ตามภาษาไทยว่า พุทธศาสนิกชน และมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ว่า ชาวพุทธ ในเวลาต่อมา

แบบฝึกหัด เรื่อง การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย

แบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง (คะแนนเต็ม ๑๘ คะแนน)
๑. ให้นักเรียนศึกษาภาพตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามในประเด็นที่กำหนดให้
คำถาม จากภาพ เป็นการแสดงความเคารพพระภิกษุสงฆ์ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าอย่างไร
ประกอบด้วยอะไรบ้าง ชาย หญิง แสดงความเคารพแตกต่างกันอย่างไร (๘ คะแนน)

๓. มารยาทไทย

มารยาทในอิริยาบถต่างๆ ตามแบบอย่างในวัฒนธรรมไทย เป็นสิ่งจำเป็นที่คนไทยทุกคนจะต้องทราบและปฏิบัติได้โดยถูกต้องกลมกลืนกับคนอื่นในงานพิธีต่างๆ ซึ่งมีแบบเฉพาะที่ต้องปฏิบัติทั้งในเวลาของศาสนพิธีและพิธีอื่น ดังต่อไปนี้

๒. วิธีกราบบุคคลและกราบศพ


การกราบคนและกราบศพ กราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ กราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
๑. หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ขึ้น ให้ปลายนิ้วจรดจมูกก็ได้หรือจะให้ปลายนิ้วมือจรดอยู่ระหว่างคิ้ว หัวแม่มืออยู่ระหว่างจมูกก็ได้ ถ้าคนเสมอกันประนมมือขึ้นแค่อกก็พอ
๒. นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบหรือจะใช้วิธีหมอบกราบก็ได้
๓. หมอบลงตามแบบหมอบ
๔. มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้น ไม่แบมือราบกับพื้น
๕. ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
๖. เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ
๗. ศพพระสงฆ์ จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งก็ได้
๘.ศพบุคคลนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ตนเคารพกราบไหว้บูชาอย่างใด ก็ควรปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้โดยกราบหนเดียว
๙.สำหรับนาคกราบลาบวชหรือกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตร ใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งก็ได้
๑๐.กราบบุคคลทุกประเภทใช้วิธีหมอบกราบ ไม่ต้องแบมือ และกราบหนเดียว ใช้ในบุคคลทุกระดับชั้น

๑.วิธีแสดงความเคารพพระ

ความมุ่งหมายของการแสดงความเคารพพระ ก็เพื่อแสดงให้ปรากฎว่า ตนมีความนับถือด้วยกายและใจจริง การแสดงให้ปรากฎนี้ ส่วนใหญ่แสดงออกทางกาย ซึ่งส่อซึ้งถึงน้ำใจอย่างเด่นชัด พระที่ควรแก่การแสดงความเคารพ ได้แก่
๑. พระพุทธรูปหรือปูชนียวัตถุ มีพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น
๒. พระภิกษุสามเณรผู้ทรงเพศอุดมกว่าตน
๓. การแสดงความเคารพต่อพระดังกล่าวนี้จะนำมาชี้แจงในที่นี้เพียง ๓ วิธี คือ
การประนมมือ การไหว้ และการกราบ

วันออกพรรษา

 ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๑ ๑

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า"ปวารณา"แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกัน ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญ

วันเข้าพรรษา

ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน

วันอาสาฬหบูชา

ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๘

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม

วันอัฏฐมีบูชา

วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

ความหมาย
เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา"

ประวัติความเป็นมา

วันวิสาขบูชา

 ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๖
 ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗

วันมาฆบูชา

 ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓
"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

พุทธปรัชญาคืออะไร

          เราได้ทราบพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนามาแล้ว บัดนี้เรามาวิเคราะห์ว่าพระพุทธศาสนาเป็นพุทธปรัชญาอย่างไรขอทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่า คำว่าปรัชญาคืออะไร เพื่อจะได้สงเคราะห์พุทธศาสนาลงเป็นพุทธปรัชญาให้ชัดเจนได้ยิ่งขึ้นดังนี้  กล่าวโดยสรุป “ปรัชญาคือการแสวงหาความจริงอันอันติมะเกี่ยวกับมนุษย์และโลกหรือสากลจักรวาล ภายนอกตัวมนุษย์ด้วยการใช้เหตุผล”เมื่อเข้าใจว่า ปรัชญาคืออะไรแล้ว คราวนี้ก็มาถึงคำถามว่า “พุทธปรัชญาคืออะไร” คำตอบสำหรับคำถามนี้ก็คือ “พุทธปรัชญาได้แก่ หลักคำสอนเกี่ยวกับความจริง (สัจธรรม) และหลักปฏิบัติ (จริยธรรม) บางประการของพระพุทธศาสนาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลตามวิธีการของปรัชญา “นิยามความหมายนี้ทำให้มองเห็นขอบเขตของพุทธปรัชญาว่าจำกัดอยู่ในส่วนที่เป็นศาสนธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่รวมไปถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เว้นเสียแต่ว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จะเกี่ยวโยงกับศาสนธรรม จึงจะศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลเชิงปรัชญาด้วยเท่านั้น

Bookmarks