Saturday, June 23, 2012

สรุป วิชาพุทธประวัติ

            พุทธประวัติ  คือประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้า  เราในฐานะชาวพุทธควรที่จะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศาสดาที่ตนนับถือ  เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะ และบุญกุศลแก่ตนเองยิ่งขึ้นไป
คุณธรรมแบบอย่างที่ดีในพุทธประวัติที่สามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันของเราได้ คือ

๑. ความเป็นคนมีเหตุมีผล    พระพุทธองค์ทรงพิจาณาถึงสาเหตุที่ทำคนต้องเกิด แก่  เจ็บ  ตาย  ทรงเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนแต่เป็นของคู่กัน  ดังนั้น  สิ่งที่ทำให้ต้องพ้นจากการเกิด แก่ เจ็บ  ตาย  ก็ต้องมี
๒. ความขยันหมั่นเพียร    ดังที่พระพุทธองค์ทรงศึกษาจนจบ  ๑๘  ศาสตร์  สิ้นความรู้ของครูที่สอน   และทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อการตรัสรู้นานถึง  ๖ ปี โดยไม่ท้อถอย 
๓.  ความกตัญญูกตเวที   พระพุทธองค์ทรงตอบแทนพระคุณของพระบิดา พระมารดา ด้วยให้ตั่งอยู่ในโลกุตตรธรรม
๔.  ความเป็นผู้มีศีล    พระพุทธองค์ทรงประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี  ทรงมีพระจริยาวัตรที่งดงาม
๕.  ความเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต   พระพุทธองค์แม้จะได้รับการบำรุงบำเรอทางโลกิยะสุขมากมาย         แต่ก็ไม่ได้ทรงประมาทมัวเมาในวัยในชีวิต  ทรงกระทำพระองค์ให้พ้นจากความทุกข์  และสอนผู้อื่นไม่ให้ตั้งอยู่ในความประมาทด้วย.


  ชมพูทวีปและประชาชน


           ชมพูทวีป  ได้แก่ ประเทศอินเดีย   เนปาล   บังคลาเทศ  ภูฐาน  ปากีสถาน  อัฟกานิสถาน   ตั้งอยู่ทางทิศพายัพ  (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ) ของประเทศไทย
           ในสังคมอินเดีย มีคนอยู่    จำพวก หรือ  วรรณะ    คือ :
    .  กษัตริย์   มีหน้าที่ทำการปกครองบ้านเมือง     (จัดเป็นชนชั้นสูง)
     . พราหมณ์  มีหน้าที่ทำการสั่งสอน  และทำพิธีกรรม  (จัดเป็นชนชั้นสูง)
     .  แพศย์  มีหน้าที่ทำนา  ค้าขาย   ( ชนชั้นสามัญ)
     .  ศูทร   มีหน้าที่รับจ้างเขาทำงาน   ( ชนชั้นต่ำ)
       และยังมีคนอีกจำพวกหนึ่ง  ซึ่งเกิดจากการสมสู่ต่างวรรณะทั้ง ๔  เช่น พราหมณ์ มาสมสู่กับคนวรรณะศูทร  ลูกที่เกิดมาจะเป็นอีกจำพวกหนึ่ง เรียกว่า จัณฑาล  ซึ่งเป็นคนที่ถูกดูหมิ่นเหยียดหยามมากที่สุดในสังคมอินเดีย
          คนในสมัยนั้นส่วนใหญ่นับถือศาสนาพราหมณ์       มีความเห็น (ทิฏฐิ) เป็น ๒ คือ     .  สัสสตทิฏฐิ   ถือว่าตายแล้วเกิด     .  อุจเฉททิฏฐิ   ถือว่าตายแล้วสูญ
ชาติภูมิเดิมของพระพุทธเจ้า
          ต้นศากยวงศ์  คือ  พระเจ้าโอกกากราช    ซึ่งมีพระราชโอรส     พระองค์  พระราชธิดา    พระองค์  ต่อมาพระราชโอรส  และ พระราชธิดา ได้ไปสร้างพระนครใหม่ ชื่อว่า กบิลพัสดุ์  ที่ได้นามนี้เพราะเป็นที่อยู่ของท่านกบิลดาบส  และได้ทำการสมสู่กันเอง ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะให้พระโอรสและพระธิดาประสูติออกมานั้นได้เป็นอุภโตสุชาต คือเกิดดีแล้วทั้งสองฝ่าย แล้วสืบศายวงศ์มาเป็นลำดับ .  ยกเว้นพี่สาวองค์ใหญ่ซึ่งภายหลังได้เป็นพระมเหสีของกษัตริย์ผู้ครองกรุงเทวทหะ     และก็ได้ตั้ง    โกลิยวงศ์สืบมา.
           สักกชนบทแบ่งเป็น    พระนคร คือ  )  พระนครเดิมของพระเจ้าโอกกากราช       )  พระนครกบิลพัสดุ์     )  พระนครเทวทหะ
           ระบอบการปกครอง  เป็นแบบสามัคคีธรรม  
            อาชีพหลัก   คือ  กสิกรรม.
           ศากยวงศ์นี้  มีโคตรเรียกว่า  โคตมะ   หรือ อาทิตตยโคตร
           วงศ์ตระกูลของพระศาสดา  คือ วงศ์ตระกูลที่ครองกรุงกบิลพัสดุ์  สืบเชื้อสายเรื่อยมา จนถึงพระเจ้าชัยเสนะ ๆ  ทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดา คือ พระเจ้าสีหนุและพระนางยโสธรา      ต่อมาได้เสด็จครองราชย์  และทรงอภิเษกสมรสกับพระนางกัญจนา  ผู้เป็นราชธิดาของกรุงเทวทหะ (โกลิยวงศ์)  มีรัชทายาท    พระองค์  คือ
. พระเจ้าสุทโธทนะ   . พระเจ้าสุกโกทนะ  .  พระเจ้าโธโตทนะ   . พระเจ้าอมิโต ทนะ  . ฆนิโตทนะ  และพระราชธิดา    พระองค์ คือ  พระนางปมิตา  พระนางอมิตา.
            ส่วน ยโสธรา  ก็ได้เป็นพระมเหสี  ของพระเจ้าอัญชนะ ในกรุงเทวทหะ   (โกลิยวงศ์)     มีพระโอรส    พระองค์ คือ สุปปพุทธะ , ทัณฑปาณิ     มีพระธิดา     พระองค์  คือ  มายา (พระนางสิริมหามายา), ปชาบดี (โคตมี)
         พระเจ้าสุทโธทนะ  ได้พระนางมายา  เป็นพระมเหสี  มีพระโอรส  ๑ พระองค์   คือ  สิทธัตถกุมาร     ต่อมาเมื่อพระนาง
มายาสวรรคตแล้ว  ได้พระมเหสีใหม่ คือ พระนางปชาบดี   และมีพระโอรส    พระองค์  คือ นันทะ   พระธิดา    พระองค์ คือ  รูปนันทา
          อาชีพหลักของคนในสมัยนั้น  คือ  การทำกสิกรรม (ทำนา)  ดังจะเห็นได้จากพระนามแห่งพระราชบุตรของพระเจ้าสีหนุทั้ง     พระองค์   มีพระเจ้าสุทโธทนะ  เป็นต้น   ล้วนลงท้ายด้วยคำว่า  โอทนะ  ซึ่งแปลว่า  ข้าวสุก.
             พระศาสดาประสูติ
           พระเจ้าสุทโธทนะทรงอภิเษกสมรสกับพระนางสิริมหามายา    มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์ คือ เจ้าชายสิทธัตถะ  (พระพุทธเจ้า)
           พระโพธิสัตว์จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต เสด็จลงสู่พระครรภ์พระมารดา เมื่อวันพฤหัสบดี  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘  ก่อนประสูติ ๑๐ เดือน  (ตรงกับวันอาสาฬหบูชา)

      พระโพธิสัตว์ประสูติ  เมื่อรุ่งเช้าวันศุกร์  ขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ (วิสาข บูชา)  ปีจอ  ก่อนพุทธศักราช ๘๐ ปี   ภายใต้ร่มไม้สาละ    ลุมพินีวัน  ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ กับกรุงเทวทหะต่อกัน

          พอพระบรมโพธิสัตว์ประสูติแล้ว  บ่ายพระพักตร์เสด็จไปทางทิศอุดรเพียง    ก้าว  แล้วหยุดเปล่ง  อาสภิวาจา     ที่นั้นว่า เราเป็นยอด  เป็นผู้เจริญที่สุด   เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลก  การเกิดของเราครั้งนี้  เป็นครั้งสุดท้าย  ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว
     สหชาติ คือ   ผู้เกิดในวันเวลาเดียวกันกับพระพุทธองค์ คือ

. พระนางพิมพา  . พระอานนท์    . ฉันนะอำมาตย์    . กาฬุทายีอำมาตย์   . กัณฐกอัศวราช (ม้าพระที่นั่ง)  . ต้นพระศรีมหาโพธิ์   . ขุมทรัพย์ทั้ง ๔
    เมื่อประสูติได้ ๓  วัน  อสิตดาบส หรือ  กาฬเทวิลดาบส เข้าเยี่ยมและกราบ ๓ ครั้ง  พร้อมทำนายไว้ว่า  ถ้าครองเพศฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช    ถ้าออกผนวชจักได้เป็นศาสดาเอกของโลก
       เมื่อประสูติได้    วัน  ได้มีการเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ มาฉันโภชนาหารและขนานพระนามว่า สิทธัตถะ  แปลว่า ผู้ต้องการความสำเร็จ.  และเลือกพราหมณ์ไว้ ๘  ท่านเพื่อทำนายพระลักษณะ  มีพราหมณ์หนุ่มชื่อว่า โกณฑัญญะทำนายเป็นอย่างเดียว คือ ทำนายว่า จักต้องได้ออกผนวชและเป็นศาสดาเอกของโลกแน่แท้

      เมื่อประสูติได้ ๗  วัน  พระมารดา สิ้นพระชมน์
        เมื่อประสูติได้ ๗ ปี  พระราชบิดาได้โปรดให้ขุดสระโปกขรณี    สระ คือ  ) สระปทุมบัวหลวง  ) สระปุณฑริกบัวขาว    ) สระอุบลบัวขาว  จัดให้มีเรือพายพร้อมเสร็จสรรพ  ถวายพระกุมาร      และได้ส่งให้ไปศึกษากับครูวิศวามิตร ผู้มีชื่อเสียงในสมัยนั้น  ทรงสำเร็จการศึกษาถึง  ๑๘  ศาสตร์
       ทรงนั่งสมาธิ เจริญอาณาปานาสติ ยังปฐมฌานให้เกิดในขณะพิธีมงคลแรกนาขวัญ (วัปปมงคล)
       เมื่อประสูติได้ ๑๖ ปี ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา หรือพิมพา ผู้เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าสุปปพุทธะและพระนางอมิตา
       เมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา  ทรงพระราชโอรส ๑ พระองค์ คือพระราหุลกุมาร (บ่วงเกิดแล้ว)   และเสด็จออกผนวช
เสด็จออกบรรพชา
เหตุออกผนวช  มี ๒  คือ 
      ) ทรงทอดพระเนตรเทวทูตทั้ง ๔ และทรงดำริว่า คนเราทุกคนที่เกิดมาแล้วล้วนแต่ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย กันด้วยทั้งนั้นไม่มีใครเลยที่จะหลุดพ้นไปได้   (เทวทูต   คือ  คนแก่   คนเจ็บ   คนตาย   และสมณะ)
      ) ทรงดำริว่า แม้พระองค์เองก็หนีความแก่ ความเจ็บ ความตายไปไม่พ้น  และทรงพอพระทัยในการบรรพชา เพราะทรงเห็นว่าจะเป็นทางที่จะพ้นจากสิ่งเหล่านี้ได้
เสด็จออกผนวชพร้อมกับนายฉันนะ และม้ากัณฐกะ
            ทรงตัดพระเมาลี (ผม) ด้วยพระขรรค์ และอธิษฐานเพศบรรพชา ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา   โดยมีฆฎิการพรหม นำเอาบาตร  พร้อมด้วยผ้ากาสาวะ คือผ้านุ่ง ๑ ผืน   ผ้าห่ม ๑ ผืน  มาถวาย.
          อัฏฐบริขาร มี ๘ อย่างคือ สบง  จีวร  สังฆาฎิ  ประคตเอว  บาตร  มีดโกน   เข็ม  และกระบอกกรองน้ำ
      การบำเพ็ญเพียรเพื่อการตรัสรู้
           หลังจากบรรพชาแล้วเสด็จไปพักแรมที่อนุปิยอัมพวัน  เขตอนุปิยนิคม รัฐมัลละ
           ทรงศึกษาอยู่ในสำนักของอาฬารดาบสก่อนได้สมาบัติ ๗  แล้วจึงมาศึกษาต่อที่สำนักของอุทกดาบส ได้สมาบัติ 
          จากนั้น  จึงเสด็จไปยังอุรุเวลาเสนานิคม   เขตรัฐมคธ  ทรงพอพระทัยเสด็จประทับบำเพ็ญเพียรอยู่    สถานที่นี้ 
        ปัญจวัคคีย์  ทั้ง ๕   คือ โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ  มหานามะ อัสสชิ ได้ออกผนวชตาม  โดยหวังจักได้ฟังธรรมและตรัสรู้ตามพระพุทธองค์
         ทรงบำเพ็ญ  ทุกรกิริยา  คือ กิริยาที่กระทำได้โดยยากยิ่ง มี  ๓ วาระ คือ
          . กดพระทนต์ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุด้วยพระชิวหา
          . ผ่อนกลั้นลมหายใจเข้าหายใจออก
          . อดอาหาร เสวยแต่วันละน้อย ๆ บ้าง
          ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาถึงเพียงนี้ ก็ไม่สามารถตรัสรู้ได้  จนพระวรกายซูบผอม  และทรงพิจารณาเห็นว่า  การบำเพ็ญเพียรทุกรกิริยามิใช่ทางตรัสรู้  ควรที่เราจะบำเพ็ญเพียรทางจิตยึดมัชฌิมาปฏิปทาเป็นข้อปฏิบัติ  แล้วจึงหันมาบริโภคพระกระยาหารตามเดิม      ฝ่ายปัญจวัคคีย์เห็นเช่นนั้น ก็พากันรังเกียจจึงหลีกหนีไปอยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน   เขตเมืองพาราณสี
ตรัสรู้
          ทรงรับข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดานำมาถวายพร้อมทั้งถาด   เมื่อเสวยเสร็จแล้ว ทรงอธิษฐานลอยถาด ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ในเวลาเช้าของวันตรัสรู้
          ทรงตรัสรู้ในยามสุดท้ายของวันพุธ  ขึ้น  ๑๕ ค่ำเดือน ๖  ปีระกา    ควงไม้พระศรีมหาโพธิ   มีลำดับดังนี้
        ในปฐมยาม  บรรลุ  ปุพเพนิวาสานุสติญาณ (ระลึกชาติได้)
        ในมัชฌิมยาม บรรลุ จุตูปปาตญาณ  ( รู้การจุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย)
         ในปัจฉิมยาม  บรรลุ อาสวักขยญาณ   พระญาณนี้ทำพระองค์ให้เป็นผู้สิ้นจากอาสวะกิเลส  คือ ทรงตรัสรู้ อริยสัจ    คือ  ทุกข์   สมุทัย  นิโรธ  มรรค  ขณะนั้นมีพระชนมายุ  ๓๕   พรรษา
     พระนามพิเศษ  คือ อะระหัง และ สัมมาสัมพุทโธ   เป็นพระนามใหญ่ของพระองค์  ไม่มีใครตั้งให้  เป็น  เนมิตกนาม  (พระนามที่ปรากฏขึ้นเอง)     
   ที่ได้นามว่า  อรหํ  เพราะทรงห่างไกลจากกิเลสเครื่องเศร้างหมอง
   ที่ได้นามว่า  สมฺมาสมฺพุทฺโธ    เพราะทรงตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง
     ทรงชนะมาร คือ กิเลส ด้วย ทสบารมี คือ ทาน , ศีล ,เนกขัมมะ ,ปัญญา,วิริยะ , ขันติ , สัจจะ , อธิษฐาน , เมตตา , อุเบกขา
   ปฐมโพธิกาล ปฐมเทศนาและปฐมสาวก
             เมื่อตรัสรู้แล้วพระองค์ยังมิได้เสด็จไปพักแรมที่ไหน  แต่ทรงพิจารณาหลักธรรมต่าง ๆ ที่ได้ตรัสรู้  และประทับเสวยวิมุตติสุข เป็นเวลา    สัปดาห์ สัปดาห์ละแห่ง ตามสถานที่ต่าง ๆ   ดังนี้ :-
        สัปดาห์ที่ ๑    ประทับอยู่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท   และทรงเปล่งอุทาน    ยามแห่งราตรี.
         สัปดาห์ที่ ๒    เสด็จจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ   ประทับยืนจ้องพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์เป็นเวลา ๗  วัน  ซึ่งเรียกว่า อนิมิสสเจดีย์
          สัปดาห์ที่ ๓   เสด็จกลับจากอนิมิสสเจดีย์มาอยู่    ระหว่างกลางแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ์กับอนิมิสสเจดีย์  ทรงเนรมิตที่จงกรมขึ้น       เรียกว่า   รัตนจงกรมเจดีย์
          สัปดาห์ที่ ๔   เสด็จมาประทับทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของต้นพระศรีมหาโพธิ์  ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎก อยู่ที่เรือนแก้วอันเทวดาเนรมิตไว้ ๗ วัน เรียกว่า รัตนฆรเจดีย์
          สัปดาห์ที่ ๕   เสด็จจากรัตนฆรเจดีย์ มาที่ต้นอชปาลนิโครธ (ทางทิศตะวันออก) ประทับเสวยวิมุตติสุข เป็นเวลา ๗  วัน  และพบกับพราหมณ์ผู้มักตวาดผู้อื่นว่า   หึ  หึ
          สัปดาห์ที่ ๖   เสด็จมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีฯ มาประทับนั่งขัดสมาธิเสวยวิมุตติสุขภายใต้ร่มไม้จิก (มุจลินท์)  ครั้งนั้นมีฝนตก มีพญานาคชื่อมุจลินท์มาขนดครอบพระองค์มิให้เปียกฝน
          สัปดาห์ที่ ๗   เสด็จจากต้นมุจลินท์มายังต้นเกตุ (ราชายตนะ) ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ต้นพระศรีฯ  มีพี่น้อง ๒ คน ซึ่งเป็นพ่อค้า คือ ตปุสสะ และภัทลิกะ  นำสัตตุผง สัตตุก้อนมาถวาย และได้แสดงตนเป็นเป็นอุบาสกถึงรัตนะ ๒ คือพระพุทธ  พระธรรม   ตลอดชีวิต
          ทรงทำ  เทศนาธิษฐาน  คือ ทรงตั้งพระทัยในอันที่จะแสดงธรรมสั่งสอนมหาชน     หลังจากที่ทรงประทับเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗  สัปดาห์แล้วจึงเสด็จไปยังต้นอชปาลนิโครธอีก  ทรงพิจารณาบุคคลเทียบกับดอกบัว ๔  เหล่า คือ
      ๑. อุคฆฎิตัญญู   ผู้มีปัญญาเฉียบแหลม  เหมือนดอกบัวเหนือน้ำรอรับแสงอาทิตย์ พร้อมจะเบ่งบานทันที   (พวกมีปัญญามาก)
      ๒. วิปจิตัญญู   ผู้มีปัญญาอยู่ในระดับปานกลาง  เหมือนดอกบัวเสมอผิวน้ำ
      ๓.  เนยยะ   ผู้มีปัญญาพอแนะนำได้  เหมือนดอกบัวบัวที่ยังไม่โผล่พ้นน้ำ
      ๔.  ปทปรมะ  ผู้ด้อยปัญญา  ไม่สามารถเข้าใจหลักธรรมได้ เหมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำโคลนตม  ซึ่งย่อมเป็นภักษาแห่งปลาและเต่า.
          จากนั้นทรงทำ  อายุสังขาราธิษฐาน  คือ ตั้งพุทธปณิธานใคร่จะดำรงพระชนมายุอยู่จนกว่าจะได้ทรงประกาศพระศาสนาให้แพร่หลาย ประดิษฐานให้มั่นคงถาวร  สำเร็จประโยชน์แก่ชนนิกรทุกหมู่เหล่า.
        ทรงดำริหาผู้รับปฐมเทศนา  ทรงปรารภถึงท่านอาฬารดาบส  กาลามโคตร  และอุททกดาบส  รามบุตร   แต่ทั้ง ๒  เสียชีวิตก่อนหน้านั้น    วัน
        ทรงดำริถึงปัญจวัคคีย์   จึงเสด็จไปโปรด    ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  เมืองพาราณสี   ในระหว่างทางพบกับอุปกาชีวก  อุปกะเห็นพระฉวีวรรณของพระพุทธองค์ผ่องใสน่าอัศจรรย์ใจยิ่งนักจึงเข้าไปทูลถามว่า อินทรีย์ท่านผ่องใสนัก  ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง  ท่านบวชอุทิศใคร  ใครเป็นครูของท่าน  ท่านชอบใจธรรมของใคร ?   พระองค์ตรัสตอบว่า  พระองค์เป็นผู้ตรัสรู้เอง  ไม่ได้ชอบใจธรรมของใคร  ไม่มีใครเป็นครู   อุปกะสั่นศรีษะด้วยความไม่เชื่อแล้วหลีกไป.
          ในเช้าวันขึ้น  ๑๕  ค่ำ  เดือน ๘  พระองค์ทรงแสดงธรรมเทศนา ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตร เป็นกัณฑ์แรก (ปฐมเทศนา) แก่ปัญจวัคคีย์  ทำให้ปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ)  บรรลุพระโสดาบัน
ผู้ได้ดวงตาเห็นธรรมคนแรก คือ โกณฑัญญะ  (ปฐมสาวก)
      และปัญจวัคคียทั้ง ๕ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์เพราะฟังธรรมเทศนาชื่อว่า อนัตตลักขณสูตร
            ครั้งนั้นมีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก    องค์  คือพระพุทธเจ้าและปัญจวัคคีย์ 
   ประกาศพระศาสนา  
          หลังจากนั้น จึงไปโปรดยสกุลบุตร  ด้วยอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔       ส่งผลให้บิดาของพระยสะ  เป็นอุบาสกคนแรกในโลก   แม่และภรรยาของยสะ เป็นอุบาสิกา คนแรกในโลก
          ยสกุลบุตร เมื่อได้ฟังธรรมเทศนาที่พระพุทธองค์แสดงแก่บิดา มารดาและภรรยาของตนแล้ว ก็บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหัต
ต่อมาสหายของท่าน คือ วิมละ  สุพาหุ  ปุณณชิ   และควัมปติ  ได้ออกบวชตาม   และมีสหายอีก  ๕๐  คน ที่ทราบข่าวก็พากันออกบวชตาม  และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ทุกองค์   
    หลังจากนั้น  พระพุทธองค์จึงทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา
 อุบาสก อุบาสิกา คือ ผู้เข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต
 เทวาจิกอุบาสก  ผู้ถึงรัตนะ ๒ คือ พระพุทธ  พระธรรม  ได้แก่ตปุสสะและภัทลิกะ
        หลังจากนั้นจึงไปโปรดภัทวัคคีย์  พวก ๓๐ คน จนได้สำเร็จเป็นพระอริยบุคคล  และได้ไปโปรดชฎิล ๓ พี่น้อง คือ  อุรุเวลากัสสปะ   นทีกัสสปะ  และคยากัสสปะ    ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ด้วยธรรมเทศนาชื่อว่า อาทิตตปริยายสูตร
       ทรงได้อัครสาวก  คือ พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ
       พระสารีบุตรได้บรรลุธรรม เพราะฟังธรรมจากพระอัสสชิ
        พระโมคคัลลานะได้บรรลุธรรม เพราะฟังธรรมจากสารีบุตรที่ฟังพระอัสสชิมาแสดงให้ฟัง   หลังจากนั้นจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า
         พระโมคคัลลานะบรรลุพระอรหันต์ก่อนพระสารีบุตร ๑๕ วัน ที่หมู่บ้านกัลลวาลมุตตคาม     ทรงแสดงอุบายแก้ง่วง    ข้อ แก่โมคคัลลานะ (ระลึกถึงสัญญาให้มาก , พิจารณาธรรมที่ฟังแล้ว ,ท่องบ่นบทเรียน ,ยอนหู,ยืนขึ้นเอาน้ำลูบตัว , นึกถึงแสงสว่างกลางวัน , เดินจงกรม , สำเร็จสีหไสยาสน์)  และตรัสให้สำเหนียกอีก    อย่างคือ  ๑.  เราจักไม่ชูงวง  คือถือตัวเข้าไปสู่สกุล

๒.     เราจักไม่พูดคำซึ่งเป็นเหตุเถียงกัน อันเป็นเหตุให้พูดมาก
๓.     เราจักไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ  เร้นอยู่ตามวิสัยของสมณะ
          พระสารีบุตรได้บรรลุพระอรหันต์ เพราะเทศนาที่พระพุทธองค์แสดงแก่ทีฆนขะ  ชื่อว่า เวทนาปริคหสูตร  ที่ถ้ำสุกรขาตา  เขาคิชฌกูฏ   กรุงราชคฤห์
          ทรงโปรดปิปผลิมาณพ  ที่อธิษฐานออกบวชพร้อมภรรยาคือนางภัททกาปิลานี   ออกบวชโดยอุทิศพระอรหันต์ในโลกนี้        พหุปุตตนิโครธ  ทรงประทานการอุปสมบทด้วยโอวาท    ประการ คือ   
        ๑.    เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความยำเกรงไว้ในภิกษุ
                    ผู้เฒ่า...ผู้ใหม่....ผู้ปานกลาง  อย่างแรงกล้า
๒.     ธรรมใดที่ประกอบด้วยกุศล  เราจักเงี่ยหูตั้งใจฟังและพิจารณาเนี้อความแห่งธรรมนั้น
๓.     เราจักไม่ละสติออกจากกาย  คือ  พิจารณากายเป็นอารมณ์
       ทรงรับวัดแรกในพระพุทธศาสนา คือ วัดเวฬุวันที่พระเจ้าพิมพิสารถวาย
       ทรงรับวัดเชตวัน  ที่อนาถปิณฑิกะ (สุทัตตเศรษฐี)  ถวาย
       ทรงอนุญาตเสนาสนะได้   ชนิด  คือ  วิหาร , อัฑฆโยค(มุงซีกเดียวอีกข้างเปิดโล่ง), ปราสาท , หัมมิยะ (หลังคาตัด)  , คูหา
       ทรงทำนิมิตโอภาสแก่พระอานนท์ ที่  ปาวาลเจดีย์   แควันวัชชี

       นาคาวโลก  คือ การมองอย่างช้างเหลียวหลัง   ทรงเหลียวมองดูเมืองไพศาลีเป็นครั้งสุดท้าย  โดยหันพระวรกายกลับมาทั้งหมด
       ทรงปลงพระชนมายุ เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓   ที่หมู่บ้านเวฬุวคาม
       ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานเมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖
       ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖ หลังปรินิพพาน ๘ วัน
        อริยธรรม   คือ   ศีล    สมาธิ    ปัญญา   วิมุตติ
      บิณฑบาตรที่มีอานิสงส์มาก คือ บิณฑบาตรที่นางสุชาดาถวายและภัตตาหารที่นายจุนทะถวาย
         มีพระพักตร์ผ่องใสมากสองครั้ง คือ วันตรัสรู้ และปรินิพพาน
         ถูปารหบุคคล  คือ  พระพุทธเจ้า  พระปัจเจกพุทธเจ้า  พระอรหันต์ และพระเจ้าจักรพรรดิราช
         สังเวชนียสถาน ๔ คือ สถานที่ประสูติ  , ตรัสรู้  แสดงธรรมจักร และปรินิพพาน
         สัมมาสัมพุทธเจดีย์ มี ๔  คือ ธาตุเจดีย์  บริโภคเจดีย์  ธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์

         สังคายนาครั้งที่ ๑  มีพระมหากัสสปะ  เป็นประธาน  พระอานนท์  พระอุบาลี  เป็นผู้ตอบ  และประชุมสงฆ์อรหันต์  ๕๐๐ รูปมีพระเจ้าอชาตศัตรูอุปภัมภ์
        สมณะที่ ๑ คือ พระโสดาบัน   ที่ ๒ พระสกทาคามี  ที่ ๓  พระอนาคามี และที่ ๔  พระอรหันต์  
         สาวกองค์สุดท้าย   คือ สุภัททะปริพาชก
        สาวกองค์แรก    คือ โกณฑัญญะ
ศาสดาแทนพระพุทธเจ้า คือ ธรรมและวินัย
        ก่อนปรินิพพาน   พระองค์ตรัสแก่พระอานนท์ว่า   ธรรมก็ดี  วินัยก็ดี  ที่เราตรัสแล้ว   แสดงแล้วนั้นแล จักเป็นศาสดาเมื่อเราปรินิพพานแล้ว
        ปัจฉิมโอวาท  หนฺททานิ   ภิกฺขเว   อามนฺตยามิ   โว  วยธมฺมา   สงฺขารา  อปฺปมาเทน   สมฺปาเทถ   แปลว่า  ดูกรภิกษุทั้งหลาย  บัดนี้เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า  สังขารทั้งหมดล้วนมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา   เธอทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ตน  และประโยชน์ผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด
          ระหว่างอามิสบูชาและปฏิบัติบูชา     ทรงสรรเสริญการปฏิบัติบูชาว่า  บุคคลผู้ทำการสักการบูชาตถาคตด้วยอามิสบูชาอย่างนี้  หรือแม้กว่านี้  หาชื่อว่าเป็นการบูชาอย่างยิ่งและแท้จริงไม่   หากแต่บุคคลใดศึกษาและประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอน นี้แล  จึงชื่อว่าเป็นการบูชาพระตถาคตอย่างแท้จริง
           หลังจากถวายพระบรมศพ  มีสิ่งที่ไฟไม่ไหม้    อย่าง คือ  พระอัฐิ , พระเกศา   ,  พระโลมา  ,  พระนขา  และพระทันตา  กับผ้าอีกคู่หนึ่ง


          ใครมีศักดิ์เป็นอะไรกับพระพุทธเจ้า
พระเจ้าชัยเสนะ   ทรงเป็น   พระไปยกา    (ทวด)
พระเจ้าสีหนุ     ทรงเป็น   พระอัยกา   (ปู่)
พระนางกัญจนา ทรงเป็น    พระอัยยิกา  (ย่า)
พระเจ้าอัญชนะ           ทรงเป็น          พระอัยกา  (ตา)
พระนางยโสธรา          ทรงเป็น          พระอัยยิกา  (ยาย)
พระเจ้าสุทโธทนะ        ทรงเป็น          พระราชบิดา
พระนางสิริมหามายา   ทรงเป็น    พระชนนี  (แม่)
พะนางมหาปชาบดี       ทรงเป็น     พระมาตุจฉา  (น้า)
สุกโกทนะ  ,  อมิโตทนะ  ,  ฆนิโตทนะ  ,  โธโตทนะ   เป็นอาชาย  (ปิตุลา)
ปมิตา ,  อมิตา            ทรงเป็นอาหญิง  
นันทะ       ทรงเป็นน้องชาย  (อนุชา)
รูปนันทา        ทรงเป็นน้องสาว
พระนางยโสธรา (พิมพา)        ทรงเป็นภรรยา (พระชายา)
ราหุล   ทรงเป็นพระโอรส  
เหตุการณ์ในระหว่างทรงพระชนมายุ

.   ประสูติได้             วัน       มีการขนามพระนาม.
๒.  ประสูติได้             วัน       พระมารดาสวรรคต
๓.    ประสูติได้         พรรษา       ทรงศึกษาศิลปะวิทยา
๔.   ประสูติได้      ๑๖    พรรษา       ทรงอภิเษกสมรส  
๕.  ประสูติได้      ๒๙    พรรษา      ออกผนวส  และมีพระโอรส
๖.  ประสูติได้      ๓๕    พรรษา     ตรัสรู้อริยสัจ
๗.  ประสูติได้     ๘๐    พรรษา         เสด็จดับขันธปรินิพพาน


สถานที่สำคัญ
๑.   ลุมพินีวัน   เป็นสถานที่ประสูติ
๒.   ต้นโพธิ์ริมฟังแม่น้ำเนรัญชรา   เป็นสถานที่ตรัสรู้
๓.   ป่าอิสิปนตนมฤคทายวัน      เป็นสถานที่แสดงปฐมเทศนา
๔.   ปาวาลเจดีย์         เป็นสถานที่ทรงปลงอายุสังจาร
๕.   สาลวโนทยาน       เป็นสถานที่ปรินิพพาน
๖.  มกุฏพันธนเจดีย์      ถวายพระเพลิงพระบรมศพ

***************


0 comments:

Post a Comment

Bookmarks