Sunday, August 12, 2012

เมืองตักสิลา

248px-Taxila1

ตักสิลา ชื่อนครหลวงแห่งแคว้น คันธาระ ซึ่งเป็นแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นแห่งชมพูทวีป ตักสิลามีมาแต่ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล เคยรุ่งเรืองด้วยศิลปวิทยาต่าง ๆ เป็นสถานที่มี่ชื่อเสียงที่สุดในการศึกษายุคโบราณ เรียกกันว่า เป็นเมืองมหาวิทยาลัย สันนิษฐานกันว่า บัดนี้ อยู่ในเขต

Wednesday, July 4, 2012

วั น ธ ร ร ม ส ว น ะ

 วั น ธ ร ร ม ส ว น ะ

วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่

วันขึ้น 8 ค่ำ
วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
วันแรม 8 ค่ำ

๘. การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นของตน เป็นการแสดงตนให้ปรากฏว่ายอมรับนับถือพระพุทธศาสนาประจำชีวิตของตนนั่นเอง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงชี้แจงเหตุผลและที่มาของพิธีนี้ไว้โดยละเอียดในพระนิพนธ์คำนำหนังสือพุทธมามกะว่า“การแสดงให้ปรากฏว่า เป็นผู้นับถือพระพุทธเจ้า ได้ทำกันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เป็นกิจจำต้องทำในสมัยนั้นอันเป็นคราวที่พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นใหม่ เพื่อแสดงให้รู้ว่าตนละลัทธิเดิมรับเอาพระพุทธศาสนาไว้เป็นที่นับถือ วิธีแสดงตนมีต่างกันโดยสมควรแก่บริษัท ดังนี้

๗. การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา

พิธีกรรมทางศาสนา หรือที่เรียกว่า ศาสนพิธี คือ แบบอย่างหรือแบบแผนที่ควรปฏิบัติในทางศาสนา ในทางพระพุทธศาสนา ผู้ประกอบพิธี คือ พระสงฆ์ และผู้ปฏิบัติ คือ พุทธศาสนิกชนหรือชาวพุทธ การประกอบและการปฏิบัติพิธีทางพระพุทธศาสนามีวัตถุประสงค์ คือ การทำบุญอันเป็นการบำเพ็ญความดี นำมาซึ่งความสุขและความเจริญ ศาสนพิธีถือเป็นสื่อสำคัญสำหรับการเผยแผ่ธรรม มีการสืบสานต่อกันมาตั้งแต่เกิดจนตาย ศาสนพิธีหรือพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนามีมากมาย ได้มีการจัดแบ่งไว้เป็นหมวดหมู่ (รายละเอียดของแต่ละหมวดหมู่จะได้ศึกษาในหัวข้อศาสนพิธี) การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาแต่ละหมวดหมู่นั้นจะมีขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติแตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพิธีนั้น ๆ
อย่างไรก็ตาม เมื่อกล่าวโดยภาพรวม การเข้าร่วมพิธีกรรมทางพุทธศาสนาของชาวพุทธมีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติดังนี้

๖. การเข้าค่ายพุทธธรรม

การเข้าค่ายพุทธธรรม คือ การสมัครเข้าร่วมโครงการปฏิบัติธรรมระยะสั้นตามที่โรงเรียน หรือสถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานที่ตนสังกัดจัดขึ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งโดยมากมักเป็น ๓ วัน ๕ วัน ๗ วัน และ ๑๕ วัน เป็นต้น
การเข้าค่ายพุทธธรรม หรือเรียกว่า ค่ายพุทธบุตร เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนหรือเยาวชนได้มีโอกาสศึกษา และปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่วัย จะได้พัฒนาตนเองและสร้างสรรค์สังคม โดยรู้ซึ้งถึงหลักธรรม มีความรักความศรัทธา มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา รวมถึงเพื่อยกระดับจิตใจให้มั่นคงมีคุณธรรม การเข้าค่ายพุทธธรรม เป็นกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาที่ควรส่งเสริม ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

๕. การปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีตามหลักทิศเบื้องบนของทิศ ๖

 

ในการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ทุกคนมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสถานภาพและบทบาทที่ตนดำรงอยู่ เป็นบิดามารดามีหน้าที่เลี้ยงดูบุตรให้เจริญเติบโต เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ เป็นครูอาจารย์มีหน้าที่สอนและอบรมศีลธรรมจรรยาให้ศิษย์มีความรู้และประพฤติตนเป็นคนดี เป็นนักเรียนมีหน้าที่เรียนหนังสือ เชื่อฟังพ่อแม่และครูอาจารย์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบอะไรในสังคมก็พยายามปฏิบัติหน้าที่นั้น ๆ ให้ดีที่สุด ในพระพุทธศาสนาก็ได้กล่าวถึงหน้าที่และความรับผิดชอบในลักษณะเช่นนี้ไว้เหมือนกัน โดยพระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ในหลัก ทิศ ๖

๔. การเข้าร่วมกิจกรรมและเป็นสมาชิกขององค์กรชาวพุทธ

 

องค์กรชาวพุทธ คือ หน่วยงาน กลุ่ม หรือชมรมชาวพุทธที่รวมตัวกันเพื่อทำงานด้านพระพุทธศาสนา โดยมีแนวคิดและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นเอกภาพ และปฏิบัติหน้าที่ในเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อสร้างสรรค์สันติสุขแก่สังคม
ประเภทขององค์กรชาวพุทธ ปัจจุบันองค์กรชาวพุทธมีหลายองค์กร มีทั้งองค์กรที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและองค์กรที่ไม่ได้จดทะเบียน แต่จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินกิจกรรมเฉพาะกิจหรือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอื่นที่มุ่งเน้นความคล่องตัวในการดำเนินงาน ตัวอย่างองค์กรชาวพุทธเช่น สภายุวพุทธิกสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์พิทักษ์พระพุทธศาสนา เครือข่ายชาวพุทธเพื่อพุทธศาสนาและสังคมไทย (คพส.) กลุ่มวิชาการชาวพุทธ ชมรมรักพระพุทธศาสนา เป็นต้น องค์กรชาวพุทธที่ใหญ่ที่สุด คือ องค์กรพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พสล.)

๓. การรักษาศีล ๘

การรักษาศีล ๘ หรือการรักษาอุโบสถศีลเป็นการขัดเกลากิเลสอย่างหยาบหรือการประพฤติไม่ดีทางกาย วาจา ใจ ชนิดที่เห็นได้ง่าย ได้ชัด เกิดแก่คนทั่ว ๆไป ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะชั้นชนใด ตามปกติการขจัดขัดเกลากิเลสดังกล่าวสำหรับปุถุชนคนธรรมดาถือว่ารักษาศีล ๕ ก็นับว่าเพียงพอ แต่สำหรับผู้ที่จะละกิเลสให้ยิ่งขึ้นไปอีกก็อาจรักษาศีล ๘ ซึ่งเป็นศีลที่ทำให้ละความสะดวกสบาย ความสวยความงามและความน่าพึงพอใจทางกายต่าง ๆ อันเป็นการละกามกิเลสเพิ่มขึ้น บางคนที่เคร่งครัดก็รักษาเป็นปกติ บางคนที่ยังไม่สะดวกก็ควรตั้งใจรักษาศีล ๘ คราวละ ๓ วัน วันรับวันหนึ่ง วันรักษาวันหนึ่ง และวันส่งอีกวันหนึ่ง เช่น จะรักษาในวันพระ ๘ ค่ำ ก็ต้องเริ่มตั้งแต่วัน ๗ ค่ำ ไปจนสิ้นวัน ๙ ค่ำ คือ รุ่งอรุณของวัน ๑๐ ค่ำ โดยทั่วไปมักรักษาศีล ๘ ในวันพระหรือวันอุโบสถเพียงวันเดียว คือวันหนึ่งกับคืนหนึ่งการรักษาศีล ๘ แม้ไม่ใช่นิจศีล คือ ศีลที่รักษาเป็นประจำซึ่งได้แก่ศีล ๕ แต่ก็ควรถือเป็นหน้าที่ของชาวพุทธที่จะหาโอกาสรักษาศีล ๘ บ้าง อย่างน้อยเพื่อให้มีประสบการณ์ในการรักษาศีลที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติอันเป็นการทำให้เราเป็นคนมีศีลเพิ่มขึ้น ขจัดกิเลสที่ละเอียดมากขึ้นกว่าศีล ๕

๒. คุณสมบัติของทายกและปฏิคาหก

ทายก หมายถึง ผู้ให้ทาน ปฏิคาหก หมายถึง ผู้รับทาน
ในพระพุทธศาสนา ทานหรือการให้เป็นวิธีการทำบุญวิธีหนึ่ง
การให้นั้นนอกจากเป็นการช่วยเหลือผู้อื่นแล้ว ยังเป็นการช่วยขัดเกลาจิตใจผู้ให้ให้บริสุทธิ์ผ่องใสได้ด้วย
การให้แบ่งเป็น ๓ ประเภท ดังนี้
๑. ให้วัตถุสิ่งของ เช่น เงิน อาหาร เสื้อผ้า รวมถึงการออกแรงกายช่วยเหลือผู้อื่นด้วย
๒. ให้ความรู้ เช่น ช่วยทบทวนวิชาที่เพื่อนขาดเรียนเพราะเหตุจำเป็น ช่วยเตือนสติ
ช่วยให้ข้อมูลต่าง ๆ เป็นต้น
๓. ให้อภัย คือ ระงับความโกรธ ไม่ถือโทษเมื่อผู้ทำผิดโดยมีตั้งใจไม่อาฆาต และความตั้งใจงดเว้นไม่ประพฤติผิดศีล รักษาศีล ๕ ให้บริสุทธิ์

๑. การเข้าใจกิจของพระภิกษุสงฆ์


กิจธุระที่สำคัญของพระสงฆ์ มี ๒ ประการ ดังนี้
๑.๑ การศึกษาอบรม
เมื่อบวชเรียน พระภิกษุจะต้องได้รับการศึกษาอบรม ๓ ด้าน เรียกว่า
“ไตรสิกขา” (ศีล สมาธิ ปัญญา) โดยมีพระอุปัชฌาย์เป็นผู้คอยให้คำแนะนำ ได้แก่
๑. ด้านศีล การศึกษาอบรมด้านศีล คือ การควบคุมกายและวาจาให้เป็นระเบียบ
เรียบร้อยหรือปกติ ศีลของพระภิกษุสงฆ์ มี ๒ ประเภท คือ

หน้าที่ชาวพุทธ

ชาวพุทธเป็นคำที่บัญญัติขึ้นมาใหม่ คำเท่าที่รู้จักกันดีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า คือ พุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา คำว่า พุทธบริษัท หมายถึง กลุ่มหรือชมรมบุคคลที่รวมกลุ่มกันในแนวคิดเห็นและมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาร่วมกันเป็นเอกภาพ ปฏิบัติหน้าที่ในเป้าหมายอันเดียวกัน คือเพื่อสร้างสรรค์สันติสุขแก่สังคม ต่อมาได้มีการเรียกพุทธบริษัทในคำบัญญัติใหม่ตามภาษาไทยว่า พุทธศาสนิกชน และมีการบัญญัติศัพท์ใหม่ว่า ชาวพุทธ ในเวลาต่อมา

แบบฝึกหัด เรื่อง การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย

แบบฝึกหัดที่ ๓ เรื่อง การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัย
คำชี้แจง ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง (คะแนนเต็ม ๑๘ คะแนน)
๑. ให้นักเรียนศึกษาภาพตัวอย่างต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามในประเด็นที่กำหนดให้
คำถาม จากภาพ เป็นการแสดงความเคารพพระภิกษุสงฆ์ ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่าอย่างไร
ประกอบด้วยอะไรบ้าง ชาย หญิง แสดงความเคารพแตกต่างกันอย่างไร (๘ คะแนน)

๓. มารยาทไทย

มารยาทในอิริยาบถต่างๆ ตามแบบอย่างในวัฒนธรรมไทย เป็นสิ่งจำเป็นที่คนไทยทุกคนจะต้องทราบและปฏิบัติได้โดยถูกต้องกลมกลืนกับคนอื่นในงานพิธีต่างๆ ซึ่งมีแบบเฉพาะที่ต้องปฏิบัติทั้งในเวลาของศาสนพิธีและพิธีอื่น ดังต่อไปนี้

๒. วิธีกราบบุคคลและกราบศพ


การกราบคนและกราบศพ กราบด้วยวิธีกระพุ่มมือ กราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ มีวิธีปฏิบัติดังนี้
๑. หากบุคคลหรือศพอาวุโสกว่าให้ประนมมือไหว้ขึ้น ให้ปลายนิ้วจรดจมูกก็ได้หรือจะให้ปลายนิ้วมือจรดอยู่ระหว่างคิ้ว หัวแม่มืออยู่ระหว่างจมูกก็ได้ ถ้าคนเสมอกันประนมมือขึ้นแค่อกก็พอ
๒. นั่งพับเพียบเก็บเท้า ตามแบบนั่งพับเพียบหรือจะใช้วิธีหมอบกราบก็ได้
๓. หมอบลงตามแบบหมอบ
๔. มือทั้งสองกระพุ่มทอดลงกับพื้น ไม่แบมือราบกับพื้น
๕. ก้มศีรษะลงจรดสันมือ กราบเพียงครั้งเดียว
๖. เสร็จแล้วลุกขึ้นนั่งพับเพียบตามปกติ
๗. ศพพระสงฆ์ จะกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งก็ได้
๘.ศพบุคคลนั้น เมื่อยังมีชีวิตอยู่ ตนเคารพกราบไหว้บูชาอย่างใด ก็ควรปฏิบัติอย่างนั้นก็ได้โดยกราบหนเดียว
๙.สำหรับนาคกราบลาบวชหรือกราบบิดามารดาตอนรับผ้าไตร ใช้แบบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้งก็ได้
๑๐.กราบบุคคลทุกประเภทใช้วิธีหมอบกราบ ไม่ต้องแบมือ และกราบหนเดียว ใช้ในบุคคลทุกระดับชั้น

๑.วิธีแสดงความเคารพพระ

ความมุ่งหมายของการแสดงความเคารพพระ ก็เพื่อแสดงให้ปรากฎว่า ตนมีความนับถือด้วยกายและใจจริง การแสดงให้ปรากฎนี้ ส่วนใหญ่แสดงออกทางกาย ซึ่งส่อซึ้งถึงน้ำใจอย่างเด่นชัด พระที่ควรแก่การแสดงความเคารพ ได้แก่
๑. พระพุทธรูปหรือปูชนียวัตถุ มีพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น
๒. พระภิกษุสามเณรผู้ทรงเพศอุดมกว่าตน
๓. การแสดงความเคารพต่อพระดังกล่าวนี้จะนำมาชี้แจงในที่นี้เพียง ๓ วิธี คือ
การประนมมือ การไหว้ และการกราบ

วันออกพรรษา

 ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๑ ๑

วันออกพรรษา คือวันสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่ในฤดูฝนซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑
วันออกพรรษานี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันมหาปวารณา" คำว่า"ปวารณา"แปลว่า "อนุญาต" หรือ "ยอมให้" คือ เป็นวันที่เปิดโอกาสให้พระภิกษุสงฆ์ด้วยกัน ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ในข้อที่ผิดพลั้งล่วงเกินระหว่างที่จำพรรษาอยู่ด้วยกัน ในวันออกพรรษานี้กิจที่ชาวบ้านมักจะกระทำก็คือ การบำเพ็ญ

วันเข้าพรรษา

ต ร ง กั บ วั น แ ร ม ๑ ค่ำ เ ดื อ น ๘

"เข้าพรรษา" แปลว่า "พักฝน" หมายถึง พระภิกษุสงฆ์ต้องอยู่ประจำ ณ วัดใดวัดหนึ่งระหว่างฤดูฝน โดยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่นๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน

วันอาสาฬหบูชา

ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๘

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม

วันอัฏฐมีบูชา

วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

ความหมาย
เนื่องด้วยอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา"

ประวัติความเป็นมา

วันวิสาขบูชา

 ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๖
 ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ " ถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗

วันมาฆบูชา

 ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๓
"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป

พุทธปรัชญาคืออะไร

          เราได้ทราบพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศาสนามาแล้ว บัดนี้เรามาวิเคราะห์ว่าพระพุทธศาสนาเป็นพุทธปรัชญาอย่างไรขอทบทวนอีกครั้งหนึ่งว่า คำว่าปรัชญาคืออะไร เพื่อจะได้สงเคราะห์พุทธศาสนาลงเป็นพุทธปรัชญาให้ชัดเจนได้ยิ่งขึ้นดังนี้  กล่าวโดยสรุป “ปรัชญาคือการแสวงหาความจริงอันอันติมะเกี่ยวกับมนุษย์และโลกหรือสากลจักรวาล ภายนอกตัวมนุษย์ด้วยการใช้เหตุผล”เมื่อเข้าใจว่า ปรัชญาคืออะไรแล้ว คราวนี้ก็มาถึงคำถามว่า “พุทธปรัชญาคืออะไร” คำตอบสำหรับคำถามนี้ก็คือ “พุทธปรัชญาได้แก่ หลักคำสอนเกี่ยวกับความจริง (สัจธรรม) และหลักปฏิบัติ (จริยธรรม) บางประการของพระพุทธศาสนาที่นำมาศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลตามวิธีการของปรัชญา “นิยามความหมายนี้ทำให้มองเห็นขอบเขตของพุทธปรัชญาว่าจำกัดอยู่ในส่วนที่เป็นศาสนธรรมของพุทธศาสนาเท่านั้น จะไม่รวมไปถึงองค์ประกอบอื่น ๆ เว้นเสียแต่ว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จะเกี่ยวโยงกับศาสนธรรม จึงจะศึกษาวิเคราะห์ด้วยการใช้เหตุผลเชิงปรัชญาด้วยเท่านั้น

Thursday, June 28, 2012

หลวงพ่อสำลี รูปเหมือนลอยองค์ เนื้อนวะ รุ่นแรก วัดโพรงมะเดื่อ อ.เมือง จ.นครปฐม

หลวงพ่อสำลี ธีรปญฺโญ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพรงมะเดื่อ (องค์ที่ ๙)
อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

เหรียญรุ่นแรก เนื้อทองฝาบาตร หลวงพ่อฉ่อย วัดโพรงมะเดื่อ นครปฐม

เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อฉอย ญาณจฺฉนฺโท อดีตเจ้าอาวาสวัดโพรงมะเดื่อ (องค์ที่ ๘)
และเจ้าคณะอำเภอเมืองนครปฐม จังหวันครปฐม

Sunday, June 24, 2012

คติเตือนใจ

ถ้าคุณ ” ซื้อ ” > แต่ สิ่งของที่ ” ไม่จำเป็น ”
ในไม่ช้า , คุณก็ต้อง ” ขาย ” > สิ่งของ ..ที่คุณ ” จำเป็น “

Saturday, June 23, 2012

วิชาธรรมวิภาค

ทุกะ คือ หมวด ๒
ธรรมมีอุปการะ ๒ อย่าง คือ
. สติ ความระลึกได้
. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว
การระลึกได้ก่อนที่เราจะทำ จะพูด จะคิด นึกไว้ก่อนแล้วจึงทำ พูด คิด นี้เป็นลักษณะของสติ ฯ
ความรู้ตัวในเวลาที่ตนกำลังทำ พูด คิด ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี ไม่ผิดพลาด คอยอุปการะควบคุมสติอยู่เสมอ นี้เป็นลักษณะของสัมปชัญญะ ฯ

สรุป วิชาพุทธประวัติ

            พุทธประวัติ  คือประวัติความเป็นมาของพระพุทธเจ้า  เราในฐานะชาวพุทธควรที่จะได้เรียนรู้ประวัติความเป็นมาของศาสดาที่ตนนับถือ  เพื่อเพิ่มพูนศรัทธาปสาทะ และบุญกุศลแก่ตนเองยิ่งขึ้นไป
คุณธรรมแบบอย่างที่ดีในพุทธประวัติที่สามารถนำไปประยุกต์ในชีวิตประจำวันของเราได้ คือ

พระกึมฮวย ปญฺญาสาโร

เกิด                      วันพฤหัสบดี ที่ ๐๖ มกราคม ๒๕๒๓
ภูมิลำเนา :
การศึกษา :            น.ธ. เอก
พุทธศาสตรบัณฑิต ( พธ.บ.) คณะมนุษย์ศาสตร์(จิตวิทยา)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย รุ่นที่ ๕๔ (ศูนย์กลาง)
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต ( พธ.บ.) คณะสังคมศาสตร์(การจัดการเชิงพุทธ)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการวัดไร้ขิง จ. นครปฐม
อุปสมบท :           วันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๔๔
สังกัด :                  วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่                 ผู้ช่วยเลขานุการตำบลโพรงมะเดื่อ
ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ วัคโพรงมะเดื่อฝ่ายธุรการ
ที่อยู่ปัจจุบัน :       วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

E-mail: kimhuoy_1980@hotmail.com

Thursday, June 21, 2012

พระมหาประสิทธิ์ชัย ปณฺฑิโต

เกิด :                      ปีรกา วันที่ ๒๐ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒
ภูมิลำเนา :            ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
การศึกษา :            น.ธ. เอก, ปธ. ๖
               พุทธศาสตรบัณฑิต ( พธ.บ.) คณะสังคมศาสตร์
                               (การจัดการเชิงพุทธ)
               มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อุปสมบท :           วันที่ ๐๑ เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๖
สังกัต :                  วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่                 เจ้าอาวาส / เจ้าคณะตำบลโพรงมะเดื่อ
ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ วัคโพรงมะเดื่อ
พระอุปัชฌาย์ ประจำตำบลโพรงมะเดื่อ
ที่อยู่ปัจจุบัน :       วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

พระอาจารย์บุญทิ้ง สุภาจาโร

เกิด                         : ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๖
ภูมิลำเนา              : ๔๖ หมู่ ๕ ต. หวายเหนียว อ.ท่ามะกา จ. กาญจนบุรี
การศึกษา               : น.ธ. เอก
อุปสมบท              : ๑๙ ตุลาคม ๒๕๓๒
สังกัต                     : วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่                    : ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
อาจารย์สอนศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ณ วัคโพรงมะเดื่อ
พระวินยาธิการ (ตำรวจพระ) ประจำจังหวัดนครปฐม
               เป็นพระกรรมวาจาอนุสาวนาจารย์  ในวัดโพรงมะเดื่อ
ที่อยู่ปัจจุบัน          : วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐


พระมหาเฉลิมพล เมตฺตจิตฺโต

เกิด                       :
ภูมิลำเนา              :
การศึกษา               : น.ธ. เอก, ป.ธ ๕
อุปสมบท              :
สังกัต                     : วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่                    : ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ณ วัคโพรงมะเดื่อ (ฝ่ายวิชาการ)
เลขานุการวัดโพรงมะเดื่อ
ที่อยู่ปัจจุบัน          : วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐

พระวิจิตร ทินฺนวํโส

เกิด :
ภูมิลำเนา :
การศึกษา :                น.ธ.เอก
พุทธศาสตรบัณฑิต ( พธ.บ.)คณะสังคมศาสตร์ (การจัดการเชิงพุทธ)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
อุปสมบท :
สังกัด :                      วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
หน้าที่ :                     ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประจำจังหวัดนครปฐม
ครูสอนพระปริยัติธรรม
เลขานุการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ณ วัคโพรงมะเดื่อ
เลขานุการเจ้าคณะตำบลโพรงมะเดื่อ
พระวินยาธิการ(ตำรวจพระ) ประจำจังหวัดนครปฐม
ที่อยู่ปัจจุบัน :           วัดโพรงมะเดื่อ ตำบลโพรงมะเดื่อ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ๗๓๐๐๐


Tuesday, June 12, 2012

วิชาพุทธานุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นเอก

๑. ประเทศอินเดีย อยู่ทางทิศใดของประเทศไทย ­
ก. ทิศปัจฉิม
ข. ทิศพายัพ
ค. ทิศบูรพา
ง. ทิศทักษิณ
คำตอบ : ข

Saturday, June 9, 2012

ชีวประวัติเจ้าอาวาส

รายชื่อเจ้าอาวาสที่ปกครองมา

องค์ที่ ๑           พระอาจารย์พุด
องค์ที่ ๒          พระอาจารย์เลียบ
องค์ที่ ๓           พระอาจารย์เคน
องค์ที่ ๔           พระอาจารย์ผู
องค์ที่ ๕          พระอาจารย์มี
องค์ที่ ๖           พระอาจารย์คำ

ประวัติโดยย่อของวัดโพรงมะเดื่อ

ประวัติโดยย่อของวัดโพรงมะเดื่อ

History of Prongmaduea Temple
     วัดโพรงมะเดื่อ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗๗ หมู่ที่ ๐๕  ตำบลโพรงมะเดื่อ  อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ภาค ๑๔  โทรศัพท์ วัดโพรงมะเดื่อ ๐๓-๔๓๘-๗๐๘๔
    คนรุ่นเก่าเล่าว่า แต่เดิมวัดโพรงมะเดื่อนี้ตั้งอยู่ตรงหมู่บ้านพลับ หรือบ้านหนองหิน ที่ตรงนั้นปัจจุบันยังมีหลักฐานอยู่เรียกว่า ทุ่งวัด และยังมีต้นโพธิ์อยู่ ตั้งนานเท่าไรไม่ปรากฏ ต่อมาย้ายมาสร้างตรงท้ายบ้านหนองฉิม ที่ตรงนั้นมีเนินสูงมากเดี๋ยวนี้ยังมีกรวด กระเบื้อง เศษอิฐมากมายเป็นหลักฐานอยู่และตั้งอยู่นานเท่าไรไม่ปรากฏ
    หลังจากนั้น ก็ย้ายมาตั้งที่ตลาดโรงสี มาตลอดจนทุกวันนี้ เพราะที่หนองฉิมเป็นป่าห่างจากหมู่บ้านคนมาก จึงย้ายมาที่ตรงปัจจุบันนี้ ซึ่งเดิมเป็นป่า และเนินสูง ชาวบ้านหรือผู้ใดไม่ปรากฏนามได้ถวายที่สำหรับสร้าง มีเนื้อที่ไม่กี่ไร่ ต่อมาได้ซื้อเพิ่มเติมอีก แล้วให้นามว่า วัดโพรงมะเดื่อ ตามชื่อของหมู้บ้านนี้ เดิมบ้านโพรงมะเดื่อมีชื่อว่า บ้านหัวเข้ เพราะคลองตรงข้ามสะพานเกวียน มีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ ต้นหนึ่ง มีโพรงใหญ่จนมีจระเข้เข้าไปอาศัยอยู่ได้ ต่อมาจระเข้หายไป เหลือแต่โพรง จึงได้เปลี่ยนชื่อจากบ้านหัวเข้ มาเป็น บ้านโพรงมะเดื่อ มาจนถึงทุกวันนี้ วัดนี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง พอแต่จะประมาณได้ดังนี้
Ø วัดนี้สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๑
Ø อุโปสถหลังเก่าสร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๑๑ ก่อนสร้างทางรถไฟ
Ø อุโปสถหลังใหม่สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ.๒๕๑๑



Bookmarks