Wednesday, July 4, 2012

๑.วิธีแสดงความเคารพพระ

ความมุ่งหมายของการแสดงความเคารพพระ ก็เพื่อแสดงให้ปรากฎว่า ตนมีความนับถือด้วยกายและใจจริง การแสดงให้ปรากฎนี้ ส่วนใหญ่แสดงออกทางกาย ซึ่งส่อซึ้งถึงน้ำใจอย่างเด่นชัด พระที่ควรแก่การแสดงความเคารพ ได้แก่
๑. พระพุทธรูปหรือปูชนียวัตถุ มีพระสถูปเจดีย์ เป็นต้น
๒. พระภิกษุสามเณรผู้ทรงเพศอุดมกว่าตน
๓. การแสดงความเคารพต่อพระดังกล่าวนี้จะนำมาชี้แจงในที่นี้เพียง ๓ วิธี คือ
การประนมมือ การไหว้ และการกราบ

การประนมมือ ตรงกับหลักที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “อัญชลี” คือ การกระพุ่มมือทั้งสอง ประนมให้ฝ่ามือทั้งสองประกบกัน นิ้วทุกนิ้วของมือทั้งสองแนบชิดตรงกัน ไม่มีเหลื่อมล้ำกว่ากันหรือกางให้ห่าง ตั้งกระพุ่มมือประนมด้วยอาการนี้ไว้ในระหว่างอก ให้ตั้งตรงขึ้นบน มีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม แนบศอกทั้งสองข้างชิดชายโครง ไม่ให้กางห่างออกไป แสดงอาการอย่างนี้เรียกว่า ประนมมือ เป็นการแสดงความเคารพ เวลาสวดมนต์ หรือฟังพระสวดและฟังเทศน์ เป็นต้น แสดงอย่างเดียวกันทั้งชายทั้งหญิง

ไหว้ ตรงกับที่กล่าวไว้ในบาลีว่า “วันทา” คือการยกมือที่ประนมแล้วดังกล่าวพร้อมก้มศีรษะลงเล็กน้อย ให้มือประนมจรดหน้าผาก นิ้วหัวแม่มือทั้งสองอยู่ระหว่างคิ้วอย่างนี้เรียกว่า ไหว้ ใช้แสดงความเคารพพระในขณะนั่งเก้าอี้หรือยืนอยู่ ไม่ใช่นั่งราบกับพื้น แสดงอย่างเดียวกันทั้งชายและหญิง

กราบ ตรงกับที่เรียกในบาลีว่า “อภิวาท” คือแสดงอาการกราบกับพื้นด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้แก่กราบทั้งองค์ ๕ ให้หน้าผาก ๑ ฝ่ามือ ๒ เข่า ๒ จรดพื้น เมื่อกราบอย่างนี้ พึงนั่งคุกเข่า เป็นอันว่าเข่าทั้งสองจรดพื้นแล้ว พึงประนมมือไหว้ แล้วหมอบลง ทอดฝ่ามือทั้งสองที่พื้น แหวกช่องวางฝ่ามือที่วางราบนั้นให้ห่างกันเล็กน้อย ก้มศีรษะลงตรงช่องนั้นให้หน้าผากจรดพื้น ก็เป็นอันว่าฝ่ามือทั้งสองและหน้าผากติดพื้นครบองค์ ๕

การกราบพระ

( ๑) เตรียม
ชาย คุกเข่า ตั้งฝ่าเท้าชัน
หญิง คุกเข่าราบ

(๒) ประนมมือ
ชาย ท่าพรหม
หญิง ท่าเทพธิดา

การกราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ชายพึงคุกเข่าตั้งฝ่าเท้าชัน ใช้นิ้วเท้าเท่านั้นพับยันพื้น นั่งทับลงบนส้นเท้าทั้งคู่ที่ชันขึ้น แยกเข่าทั้งสองออกเล็กน้อยให้เป็นรูปสามเหลี่ยม ประนมมือนั่งอย่างนี้เรียกว่า นั่งท่าพรหม (ท่าเทพพนม ท่าเทพบุตร ก็เรียก) เวลากราบก็ยกมือขึ้นไหว้แล้วก้มตัวลงปล่อยมือให้ทอดลงกับพื้น ให้ศอกต่อกันกับเข่าตรงกันทั้งสองข้างแล้วก้มลงให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างฝ่ามือดังกล่าว เช่นนี้เป็นท่ากราบของชาย สำหรับหญิงพึงนั่งคุกเข่าราบ คือ ไม่ตั้งฝ่าเท้าชันแบบชาย เหยียดฝ่าเท้าราบไปทางหลัง ให้ปลายเท้าทั้งสองทับกันเพียงเล็กน้อย แล้วนั่งทับลงบนฝ่าเท้าทั้งสองนั้นให้ราบกับพื้น ให้เข่าทั้งสองชิดกัน ประนมมือ นั่งอย่างนี้เรียกว่า นั่งท่าเทพธิดา ขณะกราบก็ยกมือประนมขึ้นไหว้
แล้วก้มตัวลงปล่อยมือให้ทอดลงกับพื้น ให้ข้อศอกพับทั้งสองข้างขนาบเข่าพับทั้งสองไว้ ไม่ใช่ต่อเข่าอย่างแบบชาย แล้วก้มลงให้หน้าผากจรดพื้นระหว่างฝ่ามือทั้งสอง ระวังจัดฝ่ามือให้พอดี เวลาก้มลงกราบนี้ อย่าให้ก้นยกขึ้นเป็นอันขาด เช่นนี้ เป็นท่ากราบพระของหญิง เมื่อกราบ ๓ ครั้งแล้ว พึงยกมือไหว้ตามแบบไหว้พระรัตนตรัย เสร็จแล้วเปลี่ยนอิริยาบถเป็นนั่งพับเพียบหรือลุกขึ้นยืนตามอัธยาศัย หรือตามกาลเทศะ (กรมการศาสนา, ๒๕๔๕, หน้า ๒๐๑ – ๒๐๘)

(๓) ไหว้ (วันทา)

(๔) กราบ (อภิวาท)

ที่มา : ภาพที่ (๑) – (๔) โดย ศุภโชค พรไชยะสิทธิ์

การกราบพระสงฆ์แบบชาย

(๑) ท่าเตรียม
นั่งท่ากระหย่งปลายเท้า


(๒) อัญชลี
ประนมมือให้อยู่ระหว่างอกปลายนิ้วเบนออกประมาณ ๔๕ องศา

(๓) วันทา
ยกมือขึ้นจรดหน้าผากให้หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว พร้อมกับก้มศีรษะรับมือทั้งสอง

(๔) อภิวาท
ก้มลงกราบให้ฝ่ามือแบราบกับพื้น หน้าผากจรดพื้นพร้อมกัน ให้ข้อศอกต่อกับหัวเข่าทั้งสองข้าง
พยายามอย่าให้ก้นโด่ง

การกราบพระสงฆ์แบบหญิง

(๑) ท่าเตรียม

นั่งท่ากระหย่งปลายเท้า


(๒) อัญชลี
ประนมมือให้อยู่ระหว่างอกปลายนิ้วเบนออกประมาณ ๔๕ องศา

(๓) วันทา
ยกมือขึ้นจรดหน้าผากให้หัวแม่มืออยู่ระหว่างคิ้ว พร้อมกับก้มศีรษะรับมือทั้งสอง

(๔) อภิวาท
ก้มลงกราบให้ฝ่ามือแบราบกับพื้น หน้าผากจรดพื้นพร้อมกัน ให้ข้อศอกต่อกับหัวเข่าทั้งสองข้าง พยายามอย่าให้ก้นโด่ง

การยืนไหว้พระสงฆ์ (ชาย)

ท่าเตรียม

ไหว้ให้หัวแม่มือจรดหัวคิ้วก้มตัวลงเล็กน้อย

การยืนไหว้พระสงฆ์ (หญิง)

ท่าเตรียม

ไหว้ให้หัวแม่มือจรดหัวคิ้ว ก้มศีรษะพร้อมกับก้าวเท้าขวาไปข้างหน้าและย่อเข่าเล็กน้อย

กลับสู่ด้านบน

0 comments:

Post a Comment

Bookmarks